ผลกระทบ และสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา ของ วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย_พ.ศ._2540

สกุลเงินอัตราแลกเปลี่ยน
(ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ)[3]
เปลี่ยนแปลง
มิถุนายน 2540กรกฎาคม 2541
บาทไทย24.541 40.2%
รูเปียห์2,38014,150 83.2%
เปโซฟิลิปปินส์26.342 37.4%
ริงกิต2.484.88 45.0%
วอนเกาหลีใต้8501,290 34.1%

ประเทศรายได้ประชาชาติ
(พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[3]
เปลี่ยนแปลง
มิถุนายน 2540กรกฎาคม 2541
 ไทย170102 40.0%
 อินโดนีเซีย20534 83.4%
 ฟิลิปปินส์7547 37.3%
 มาเลเซีย9055 38.9%
 เกาหลีใต้430283 34.2%

ต่างประเทศ

  1. สัดส่วนระหว่างหนี้ต่างประเทศ กับ GDP เพิ่มสูงขึ้นมาก เช่น ประเทศในอาเซียนเพิ่มจาก 100% กลายเป็น 180% ในช่วงที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤติการณ์
  2. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เข้ามารักษาเสถียรภาพสกุลเงินของ ประเทศอินโดนีเซีย ไทย และเกาหลีใต้ โดยการลงทุน 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะ 3 ประเทศดังกล่าวได้รับผลกระทบมากที่สุด
  3. ประเทศสิงคโปร์ และไต้หวัน ถือว่าได้รับผลกระทบน้อยมาก จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจนี้ แต่สิงคโปร์ได้รับผลกระทบมากกว่าเนื่องจากขนาดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ระหว่างมาเลเซียกับอินโดนีเซีย
  4. ประธานาธิบดีซูฮาร์โตของอินโดนีเซียถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 หลังจากครองอำนาจมายาวนานกว่า 30 ปี
  5. เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในอาร์เจนติน่า กับ วิกฤตการณ์การเงินในรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2541 โดยตรง และ เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอมโดยทางอ้อม

ภายในประเทศไทย

  1. ธุรกิจของเอกชน ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการเงิน หรือ บ้านจัดสรร เป็นต้น ต่างพากันปิดกิจการลง พนักงานถูกปลดออก มีหนี้สินเกิดขึ้นมหาศาล จนมีการประท้วงโดยประชาชนส่งผลทำให้พลเอกชวลิต ตัดสินใจลาออกและต้องพ้นจากการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 โดยมีนายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 สืบต่อมาในวันถัดไป (คือเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
  2. ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามพยุงค่าเงินบาท โดยใช้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศจนหมด ประกอบกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ต้องใช้เงินของกองทุนในการให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินหลายแห่ง(หมายถึง ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เป็นต้น)ในประเทศไทย ด้วยจำนวนเงินสูงสุดถึง 6 แสนล้านบาท ทำให้การใช้เงินในเหตุการณ์วิกฤตการณ์ครั้งนี้ของทั้ง 2 หน่วยงานเองหมดลงทันทีและต้องกู้จาก ไอเอ็มเอฟ จำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ
  3. อุตสาหกรรมการเงินในประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้เข้ายึดใบอนุญาตการประกอบกิจการของสถาบันการเงิน(ประกอบไปด้วยประเภทบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟรองซิเอร์ เป็นต้น) โดยสรุปรวมได้แล้วถึง 58 แห่ง ทำให้จำนวนดังกล่าว ต้องมีการปิดกิจการลงอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม กลับมีเพียงแค่ 2 บริษัทเท่านั้น คือบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันคือ ธนาคารเกียรตินาคิน) และบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ บางกอกอินเวสต์เมนท์ จำกัด (มหาชน) (ต่อมาคือบริษัท อยุธยา โทเทิล โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันปิดกิจการแล้ว) ที่สามารถกลับมาประกอบกิจการได้ตามปกติ ต่อมาได้มีการประกาศบังคับใช้พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พุทธศักราช 2540 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2540 เพื่อจัดตั้งองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เพื่อฟื้นฟูฐานะ การช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเงินที่มีความสุจริต และชำระบัญชีกับบริษัทการเงินที่ถูกยึดใบอนุญาตก่อนหน้านี้ ซึ่งไม่สามารถดำเนินการเองได้[4] ต่อมาหลังจากเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2541 ก็ได้ออกประกาศบังคับใช้มาตรการหนึ่งเพื่อปรับปรุงและแก้ไขปัญหาโครงสร้างสถาบันการเงินประเภทธนาคารครั้งใหญ่ ซึ่งก็คือ มาตรการ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งมาตรการนั้น ทำให้เกิดการควบโอน ควบรวม การซื้อขายกิจการธนาคารบางแห่ง ซึ่งมีปัญหาเพราะเรื่องสินทรัพย์ หนี้สิน และการเพิ่มทุน (ทั้งนี้รวมไปถึงการเข้ายึดกิจการโดยรัฐบาล และการยกเลิกธุรกิจธนาคาร ของบางธนาคารไปด้วย) จึงส่งผลทำให้จำนวนธนาคารถูกลดลงไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง นอกเหนือจากนี้แล้ว ยังได้มีการปรับปรุงโครงสร้างด้านกิจการเงินทุนและหลักทรัพย์ โดยให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ที่ดำเนินกิจการอย่างปกติและไม่ถูกปิดกิจการในขณะนั้น ให้ดำเนินการแยกธุรกิจเงินทุน และธุรกิจหลักทรัพย์ ในบริษัทเดียวกันออกจากกัน กล่าวคือธุรกิจเงินทุนในบริษัทเดิม ก็ให้ดำเนินกิจการต่อไปโดยไม่ต้องปิดกิจการ เพียงแต่ต้องเปลี่ยนชื่อเรียกนิติบุคคลว่า บริษัทเงินทุน (ต่อมาบริษัทเงินทุนบางแห่ง พัฒนาตัวเองเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทประเภทอื่น) แต่ในขณะที่ธุรกิจหลักทรัพย์นั้น ให้แยกการประกอบธุรกิจจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (หรือบริษัทเงินทุนในภายหลัง) ออกไปจัดตั้งเป็นนิติบุคคลอิสระ เป็นบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการประกอบธุรกิจ
  4. การปฏิบัติต่อหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลได้ส่งเสริมการแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ โดยการออกพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในรูปแบบองค์การของรัฐบาล ที่มีผลประกอบการทั้งด้านการบริหารงานและทางการเงินอยู่ในระดับดี ให้ดำเนินการแปรรูปจากนิติบุคคลในรูปแบบองค์การของรัฐบาล (ซึ่งการลงทุนและรายได้รายจ่ายเป็นทุน) ไปเป็นนิติบุคคลหุ้นส่วน หรือในรูปแบบบริษัท(มหาชน)จำกัด เพื่อให้สามารถแข่งขันกับหน่วยงานภาคเอกชนได้ และเพื่อเป็นช่องทางหาผลประโยชน์หรือรายได้ให้กับประเทศต่อไป ส่งผลทำให้มีการแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจบางราย และบางรายเมื่อแปรรูปแล้ว ก็ได้เป็นบริษัทจดทะเบียน เพื่อซื้อขายตราสารทุนที่ตลาดหลักทรัพย์ เป็นการต่อไป แต่ในทางกลับกัน รัฐบาลก็ได้มีการประกาศให้ยุบเลิกหน่วยงานรัฐวิสาหกิจบางแห่ง ที่ไม่สามารถดำเนินกิจการเพื่อเข้ากับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับภาคเอกชนประกอบกิจการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้วนั้น จึงทำให้มีการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อยุบเลิกหน่วยงานรัฐวิสาหกิจบางหน่วยงานไปโดยปริยาย
  5. หลังวิกฤตการณ์นี้ รัฐบาลได้มีนโยบายให้ย่นการประชาสัมพันธ์ปีส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทยที่มีถึง 2 ปีซ้อน คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ถึงปี พ.ศ. 2542 มาเป็นช่วงปลายปี พ.ศ. 2540 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศไทยอันจะก่อให้เกิดการสร้างและนำรายได้จากการท่องเที่ยวเข้ามาในงบประมาณและสถานะภาพความคล่องของประเทศไปด้วย[5]

สำหรับการแก้ไขนั้น ทางไอเอ็มเอฟ ให้แนวทางโดยดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวด และปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน แต่ก็ส่งผลให้ปัญหาหนักขึ้น โดยราคาสินค้า และค่าบริการต่าง ๆ แพงขึ้น รัฐบาลชวน หลีกภัย ซึ่งรับตำแหน่งต่อจาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ จึงให้ประชาชนหันมาใช้ระบบเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งยังได้มีการรณรงค์ส่งเสริมให้คนไทยรู้จักประหยัดในการใช้จ่ายและบริโภคผลิตผลของคนไทยด้วยกันเอง ต่อมา รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จึงเริ่มสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินและการทำธุรกิจ โดยมีการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs: Small and Medium Enterprises) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (บริหารงานโดย สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ) และโครงการโอทอป เป็นต้น ประชาชนจึงมีรายได้เพิ่มขึ้น

ใกล้เคียง

วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975 วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907 วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป